การกระทบจิตของคนหยิบไพ่ ด้วย จิตของนักพยากรณ์
คือ
นักพยากรณ์ถามคำถามในใจของตัวเอง แล้วสั่งให้คนอื่นหยิบไพ่ (ผู้หยิบไม่รู้คำถาม)
.. เรากำหนดคำถามในใจ .. แล้วสั่งให้คนอื่นหยิบไพ่ทีละใบ ..
ก่อนเปิดไพ่ ต้องบอกคนหยิบก่อนว่า
ไพ่ถูกหยิบมาเพราะอะไร .. ไพ่ถูกถามว่าอะไร .. แล้วจึงเปิดไพ่ดูพร้อมกัน ..
ทำไมต้องมีการถามโดยที่คนหยิบไพ่ไม่รู้คำถาม ..
เพราะ .. ในบางครั้ง สิ่งที่กระเพื่อมแรง
ของคนที่อ่อนไหวทางจิตมากๆ(มักจะมีสัมผัสพิเศษแรงด้วย) ..
ควบคุมการหยิบไพ่โดยไม่ยอมผ่อนคลาย ..
สิ่งที่กระเพื่อมแรงนี้ได้แก่ ความกลัว
ความกังวล ความอยาก ฯลฯ ..
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ไพ่ถูกควบคุม ..
และยังไม่ได้คำตอบ .. “ตรงนี้ให้สังเกตจากการหยิบไพ่ ถาม-ตอบ แล้วไพ่ทั้ง 3
ใบมีความหมายใกล้เคียงกัน” เช่น เป็นไพ่ดี ทั้ง 3 ใบ หรือ เป็นไพ่เสีย ทั้ง 3
ใบ
หากไพ่ถาม-ตอบ เป็นไพ่ ดี / เสีย ทั้ง 3 ใบ ..
ผมจะตั้งคำถามเดิม(ที่ผู้ถามพูด)ในใจของผม .. และกระทบจิต โดยการสั่งให้หยิบไพ่เพิ่มอีก
1 ใบ .. เพื่อยืนยันคำทาย .. และผมจะออกคำทายจากใบที่หยิบมาใหม่นี้ .. ครับ
ตัวอย่าง
ถามว่า .. สิ่งที่กำลังจะทำ ..... จะทำได้หรือไม่ ..
ถามว่า .. สิ่งที่กำลังจะทำ ..... จะทำได้หรือไม่ ..
หยิบไพ่ 3 ใบได้ไพ่ เสีย ตอบปฏิเสธ ทั้ง 3 ใบ
..
ถ้าอ่านใบที่ 3 ซึ่งเป็นคำตอบ .. ก็จะแปลว่า
“ทำไม่ได้” เอาใบที่ 2 มาขยายใบที่ 3 ก็ยังทำไม่ได้อยู่ .. หรือ
ดูใบแรกซึ่งเป็นความคิดก็ “คิดว่าตัวเองทำไม่ได้” ..
กรณีที่ไพ่ออกมาแบบนี้ .. ผมจะตั้งข้อสงสัยว่า
.. แรงกระเพื่อมของ ความกลัว หรือความกังวล ยังไม่ผ่อนคลาย .. ครับ ..
ผมจะให้หยิบไพ่เพิ่ม โดยให้คนหยิบไม่รู้คำถาม
.. “เพื่อให้จิตไม่ควบคุมไพ่” .. แต่ผมจะต้องตั้งคำถามในใจผม และ สั่งให้หยิบไพ่
..
ผมตั้งคำถามเดิม(.. จะทำได้หรือไม่
..)ในใจของผม .. และสั่งให้หยิบไพ่เพิ่ม อีก 1 ใบ .. ได้ไพ่ใบนี้ครับ
ผมออกคำทายว่า .. “จะทำได้ .. ครับ”
สรุป .. เราสามารถตั้งคำถามในใจเรา
และสั่งให้คนอื่นหยิบไพ่ตอบคำถามได้ .. แต่ทั้งนี้ .. ผู้ที่จะหยิบไพ่ “จิตจะต้องพร้อม”
ที่จะให้เราสั่ง ครับ .. “คือจิตต้องมีอารมณ์ร่วมอยู่ในกิจกรรมที่กำลังทำร่วมกัน”
.. ครับ
หมายเหตุ ..
- ไม่ควรถามเรื่องที่เขาไม่ต้องการเปิดเผยแก่เรา
..
- และควรบอกคำถาม ทุกครั้ง หลังจากที่เราให้เขาหยิบไพ่ โดยที่เขาไม่รู้คำถาม
..
- ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง
ที่จะไม่ถามละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น .. ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น